ไม่ต้องข้ามภพเหมือนเกศสุรางค์ ก็เข้าถึงความอินในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้ ด้วยคำโบราณสมัยเก่าที่กลายมาเป็นคำศัพท์สุดฮิตแห่งยุค ซึ่งตั้งแต่เปิดฉากแรกมาจนถึงตอนนี้ก็มีคำโบราณน่าสนใจออกมาเป็นความรู้ประดับสมองกันทุกสัปดาห์ Jelly จึงอยากชวนออเจ้ามาทบทวนคำโบราณจากละครเรื่องบุพเพสันนิวาสกัน ขอบอกเลยว่าแต่ละคำล้วนมีความแซ่บ น่าใช้ รู้ไว้ไม่มีเอาท์!

 

1. ออเจ้า


เริ่มที่คำโบราณคำแรกอย่าง 'ออเจ้า' ซึ่งกลายมาเป็นคำศัพท์ยอดฮิตแห่งยุค ออเจ้าเป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้แทนคนที่เราคุยด้วยซึ่งอ่อนอาวุโสกว่า ความหมายเดียวกับ เธอ / คุณ / เจ้า 

Bupphesanniwat-vocab

 

2. เวจ


ในสมัยกรุงศรีอยุธยา 'เวจ' หมายถึง ห้องน้ำ ไม่ใช่ Wait ที่แปลว่าคอยนะเจ้าคะ ฉะนั้นถ้าคุยกับเพื่อนอยู่แล้วอยากจะลุกไปทำธุระที่ห้องน้ำก็บอกว่า ไปเวจ จะได้ไม่ตกเทรนด์เนาะ

Bupphesanniwat-vocab

 

3. ฟะรังคี


ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจะเรียกฝรั่ง หรือชาวต่างชาติว่า 'ฟะรังคี' เช่น พวกฟะรังคีน่ากลัวตัวอย่างกับยักษ์ ซึ่งต่อมาคำว่าฟะรังคีก็ได้เพี้ยนกลายมาเป็นคำว่า ฝรั่ง อย่างที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้

Bupphesanniwat-vocab

 

4. ชะม้อย ชะม้าย ชายตา


'ชะม้อย ชะม้าย ชายตา' แปลว่า ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ เอียงอาย ส่งสายตาโปรยเสน่ห์ ที่คุณพี่หมื่นใช้ว่ากล่าวตักเตือนแม่นายการะเกด แต่ใครจะรู้ว่าภายหลังคุณพี่นี่แหละที่ชะม้อย ชะม้าย ชายตา แอบมองพร้อมส่งรอยยิ้มหวานหยดย้อยให้แม่นายเป็นประจำ! 

Bupphesanniwat-vocab

 

5. วิปลาส


เชื่อว่าคำนี้หลายคนคงรู้จักและคุ้นหูกันเป็นอย่างดีเพราะได้ยินแม่นายการะเกดโดนดุบ่อย ๆ ว่า สติวิปลาส หรือท่าทางวิปลาส ซึ่งคำว่า 'วิปลาส' นั้นหมายถึงความคลาดเคลื่อนไปจากธรรมดาสามัญ หรือความผิดปกติไปในทางเสื่อม ฉะนั้นคำว่า 'สติวิปลาส' จึงแปลว่า บ้า ฟั่นเฝือน หรือวิกลจริตนั่นเอง 

Bupphesanniwat-vocab

 

6. เทื้อคาเรือน


สำหรับคำต่อมาแน่นอนว่าสาว ๆ Jelly คงไม่อยากถูกเรียกด้วยคำนี้แน่นอน 'เทื้อคาเรือน' เป็นคำที่ใช้กับหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงาน ถึงแม้ว่าจะถึงวัยที่ต้องแต่งงานแล้วก็ตาม หรือที่สมัยนี้เค้าเรียกกันว่า 'ขึ้นคาน' นั่นเองเจ้าค่ะ

Bupphesanniwat-vocab

 

7. อึดตะปือนัง


เป็นคำในสมัยอยุธยา แปลว่า มากมาย / เยอะ / ล้นหลาม ฉะนั้นถ้ามีใครมาทำตัวเยอะใส่ก็พูดใส่หน้าไปเลยว่า ออเจ้าอย่ามาอึดตะปือนัง! หรือถ้าเจอชายหนุ่มรูปงามหน้าตาดีแบบขุนเดช ขุนเรือง ก็บอกไปเลยว่า คนอะไรช่างหล่อเหลาอึดตะปือนัง!

Bupphesanniwat-vocab

 

8. ฆ้องปากแตก


'ฆ้องปากแตก' หมายถึง การเก็บความลับไม่อยู่ หรือชอบเอาเรื่องไม่ดีของคนอื่นไปเล่า ถ้ามีใครมาเล่าอะไรให้ฟังแล้วลงท้ายว่าอย่าบอกใคร ก็อย่าเอาไปพูดต่อกันเนาะ ไม่งั้นอาจได้ฉายาว่า 'ฆ้องปากแตก' เอาได้นะคะออเจ้า

Bupphesanniwat-vocab

 

9. ม้ากระทืบโรง


ใครรู้ตัวว่าไม่ได้เป็นผู้หญิงเรียบร้อยอ่อนหวานแต่มีกิริยากระโดกกระเดกเหมือนม้ากระทืบโรง ต้องมาทำความรู้จักคำว่า 'ม้ากระทืบโรง' โดยด่วน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ม้ากระทืบโรงหมายถึงกิริยามารยาทที่ไม่เรียบร้อย เช่น นึกแล้วเชียวว่าต้องเป็นแม่การะเกด เดินเหมือนม้ากระทืบโรง! 

Bupphesanniwat-vocab

 

10. เลื่อนเปื้อน


อีกหนึ่งคำที่ควรค่าแก่การนำเสนอก็คือคำว่า 'เลื่อนเปื้อน' ซึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นแปลว่า อาการพูดเลอะเทอะ เหมือนที่คุณพี่ชอบพูดถึงเกศสุรางค์ว่า นางเป็นคนพูดจาเลื่อนเปื้อน ฉะนั้นหากมีใครมาพูดจาเบลอ ๆ ไม่รู้ความ ก็บอกไปเลยค่ะว่า แกพูดจาได้เลื่อนเปื้อนมากกก

Bupphesanniwat-vocab

 

11. อานม้า


ถ้ามีใครมาถามหาอานม้ากันในยุคนี้อย่าทำหน้างงเข้าให้ล่ะ เพราะว่าสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น เค้าเรียกการใส่ผ้าอนามัยว่า 'การขี่ม้า' ซึ่งสมัยก่อนยังไม่มีผ้าอนามัย ก็จะใช้กาบมะพร้าวมาใส่ในผ้าแทนผ้าอนามัย หรือที่เรียกว่า 'อานม้า' นั่นเองค่ะ

Bupphesanniwat-vocab

 

12. โล้สำเภา


ฉากโรแมนติกที่เฝ้ารอคอยกันทั่วบ้านทั่วเมืองกับฉาก 'โล้สำเภา' ซึ่ง โล้ คือคำกริยาแปลว่า แล่นไปตามคลื่นลมที่ใช้กับเรือสำเภา ซึ่งคำว่าโล้สำเภานั้นเป็นการเปรียบเทียบในวรรณคดีไทย หมายถึงการที่ชายหญิงมีเพศสัมพันธ์กันนั่นเองค่ะ  

Bupphesanniwat-vocab


นอกจากความสนุกสนานเพลิดเพลินและความกระชุ่มกระชวยหัวใจแล้ว บุพเพสันนิวาสยังสอดแทรกไปด้วยความรู้ทางประวัติศาสตร์อีกมากมายที่รับรองได้เลยว่าการเรียนวิชาประวัติศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป!